Last Dollar form SOUVENIR 


ธุรกิจหนึ่งที่จะต้องมีควบคู่ไปกับ การท่องเที่ยว ก็คือ ธุรกิจการขายสินค้าของที่ระลึก แต่เชื่อหรือไม่ว่าทุกวันนี้ภูเก็ต  
หรืออีกหลาย ๆ จังหวัดของเรายังไม่มีสินค้าที่ระลึกแบบสากลเป็นของตนเอง หรืออาจจะมีแต่ก็ยังถือว่าไม่ถูกต้อง 100
เปอร์เซ็นต์ทีเดียวนัก 
 

อาจเป็นเพราะพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก 
พฤติกรรมการซื้อของที่ระลึกของคนไทยส่วนใหญ่นั้นแทบจะเป็นตรงกันข้ามกับชาวต่างชาติ เพราะคนไทยนับรวมอาหาร
ท้องถิ่นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับของที่ระลึก ถ้าจะมองแบบลงลึกไปกว่านั้น ก็คือ คนไทยให้ความสำคัญกับของกินที่เป็นอา
หารท้องถิ่นมาเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนอันดับสองและสามนั้น ถึงจะเป็นของที่ระลึกท้องถิ่น และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสำ
หรับไปกราบไหว้บูชา หากลองสังเกตพฤติกรรมของคนไทยทุกวันนี้ เวลาไปเที่ยวที่ไหนสิ่งหนึ่ง ที่ต้องปฏิบัติก่อนการเดิน
ทางกลับ ก็คือ การซื้อของที่ระลึกสำหรับตนเองและสำหรับฝากคนรู้จัก ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ดี แต่เชื่อหรือไม่ว่า 
ของที่ระลึกดังกล่าวส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารท้องถิ่น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เกือบทุกครั้งเวลามีคนซื้อของที่ระลึกจากเชียง
ใหม่มาฝาก แทนที่จะได้รับเป็นร่มบ่อสร้าง หรือสินค้าชาวเขาพื้นเมือง แต่มักจะเป็นน้ำพริกหนุ่ม หรือแคบหมู จังหวัดภูเก็ต
ก็เช่นกัน ทุกวันนี้หากจะพูดถึงสินค้าที่ระลึกของภูเก็ตเชื่อว่าคนไทยคงจะนึกไปถึงแต่ กุ้งเสียบ ปลาฉิ้งฉ้าง ขนมด้าวซ้อ
ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาหารพื้นเมืองทั้งสิ้น ตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมดนั้น ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจมิใช่น้อย 
เพราะหากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ก็หมายถึงประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการดึงเม็ดเงินเข้าประเทศไปเป็นจำนวน
มากแบบที่ไม่ควรจะเสีย เพราะอะไร...

คำตอบ ก็คือ การซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนใหญ่จะซื้อเพื่อจุดประสงค์หลัก ๆ คือ เก็บไว้เป็นที่ระลึก
หรือเพื่อย้ำเตือนถึงความรู้สึกประทับใจของตนเองที่ครั้งหนึ่งเคยได้ไปท่องเที่ยว และสัมผัสกับสถานที่นั้นๆ ซึ่งแตกต่าง
กับพฤติกรรมของคนไทยโดยสิ้นเชิง สินค้าที่ระลึกที่จะมารองรับกับความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในหลาย ๆ
สถานที่ท่องเที่ยว มีไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือแทบไม่มี การซื้อขายก็ไม่เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ความต้องการของตลาด
นักท่องเที่ยวมีสูงมาก ลำพังภาพถ่ายโปสการ์ดเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว จุดนี้
เองที่ถือเป็นจุดด้อยของธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยอีกจุดหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในต่าง
ประเทศทั่วโลก

                         
 

ย้อนกลับมาที่จังหวัดภูเก็ตหากไม่นับของกิน ของที่ระลึกตามสถานที่ท่องเที่ยวของเอกชน ล้วนแล้วแต่ผลิตขึ้นมาด้วย
ไอเดียของเจ้าของสถานที่ หรือเจ้าของสัมทปาน ภูเก็ตยังไม่มีอะไรที่เป็นของที่ระลึกท้องถิ่นของตนเองเลยแม้แต่น้อย
ทั้ง ๆ ที่ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบ 1 ใน
4 ของรายได้จากการท่องเที่ยวรวม ทุกวันนี้สินค้าของที่ระลึกที่เป็นของจังหวัดภูเก็ตสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มี
เพียงภาพถ่ายโปสการ์ดอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนสินค้าที่ระลึก อื่น ๆ ที่จำหน่าย ก็จะเป็นสินค้าที่มีขายทั่วไปในหลาย ๆ 
จังหวัด เช่น ผ้าบาติก

“ผ้าบาติกที่เห็นวางขายทั่วไป ถ้าถามว่าเป็น souvenir ก็ตอบว่าใช่ แต่ถามว่าผ้าบาติกเป็นของภูเก็ตที่เดียวหรือเปล่า 
ก็ต้องตอบว่าไม่ใช่ เพราะมีขายแทบทุกจังหวัดในภาคใต้ นราธิวาสก็มี กระบี่ก็มี ตรังก็มี แบบนี้ถือว่ายังไม่มีอะไรที่เป็น
เอกลักษณ์ของภูเก็ต” คุณอานุภาพ ธีรรัฐ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคใต้เขต 4 อธิบาย
ให้ทีมงานฟัง อย่างน้อยที่สุดทางออกของเกาะภูเก็ต ก็ควรจะมีสินค้าที่ระลึกที่เป็นสากลต่าง ๆ อาทิ พวงกุญแจ เข็มกลัด
 แสตมป์ เสื้อ หมวก ฯลฯ ซึ่งเป็นสินค้าที่ระลึกพื้นฐานจำหน่ายมากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ การหาทางดึงเอาสินค้าอุปโภคบริ
โภคของภาคเอกชนมาเป็นส่วนหนึ่งของภูเก็ต ก็น่าจะเป็นอีกทางออกหนึ่งที่ได้ผล ซึ่งอาจเป็นการจัดทำด้วยการร่วมมือ
กับภาคธุรกิจ แล้วจัดทำสินค้าเวอร์ชั่นเฉพาะเพื่อจำหน่ายในจังหวัดภูเก็ต เช่น น้ำอัดลมหรือเบียร์ เวอร์ชั่นภูเก็ต หรือการ
จับมือกับบริษัทผู้ผลิตนาฬิกา ออกนาฬิกาคอลเลคชั่นภูเก็ตเฉพาะ เพราะนอกจากจะสร้างรายได้เพิ่มแล้ว ยังเป็นการขยาย
กลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มที่นิยมของสะสมอีกด้วย

วิธีดังกล่าวเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของโลกนิยมทำ ไม่ว่าจะเป็น ฮาวาย, นีช หรือปารีส เป็นต้นฯลฯ
ขณะเดียวกันทางภาครัฐก็ควรที่เร่งศึกษาเพื่อหาสินค้าและโปรโมทสินค้าที่ระลึกของภูเก็ตอย่างเป็นจริงเป็นจังมากกว่าที่
เป็นอยู่ เช่น การใช้แหลมพรมเทพ ซึ่งถือเป็น LANDMARK ชื่อดังของเกาะภูเก็ต มาเป็นจุดขาย เพื่อสร้างเป็นสินค้าของ
ที่ระลึกเหมือนกับหลาย ๆ แห่งของโลก หากคำนวณจากฐานตัวเลขเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติของภูเก็ตที่มีมากกว่า 2 
ล้านคนต่อปี และถ้านักท่องเที่ยวซื้อของที่ระลึกเฉลี่ยคนละ 100 บาท รายได้ก็จะเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านบาทต่อปีเป็นอย่างต่ำ
ซึ่งในความเป็นจริงตัวเลขน่าจะสูงกว่านี้หลายเท่า ยังไม่รวมถึงการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่นอีกเป็นจำ
นวนมาก อย่าลืมยุทธศาสตร์การดึงเงินนักท่องเที่ยว ดอลลาร์สุดท้าย ก็คือ Souvenir 

 

            ข้อมูลจาก www.brandage.com
 

Visitors: 115,491